web analytics
Tuesday , 26 09 2023
Home / NongAshi / วิธีใช้ Hyperdia วางแผนการเดินทางเที่ยวญี่ปุ่น

วิธีใช้ Hyperdia วางแผนการเดินทางเที่ยวญี่ปุ่น

ปัจจุบันการเดินทางในญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว ถ้าหากเพื่อนๆ มี internet ระหว่างการไปเที่ยวญี่ปุ่น เพราะเราสามารถดูขบวนรถไฟได้แบบ Real time ตลอดเวลา โดยผ่านเว็บ Hyperdia ซึ่งจะบอกรายละเอียดในการขึ้นรถไฟ เวลาในการเดินทาง ราคาตั๋วของรถไฟอย่างละเอียด ทำให้การเดินทางไปยังจุดที่เพื่อนๆ ต้องการเดินทางไปนั้นง่ายเพียงแค่ใส่ชื่อสถานีปลายทาง
ปัจจุบัน Sim Internet ของญี่ปุ่นหรือ Pocket Wifi นั้นหาได้ง่ายขึ้น ทำให้ Hyperdia เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเดินทางเที่ยวญี่ปุ่น โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยวางแผนการเที่ยวแบบอชิ แค่ใส่ชื่อสถานีต้นทาง แล้วใส่ชื่อสถานีปลายทางก็สามารถพาอชิไปถึงจุดหมายได้ง่ายๆ อชิโม้มาเยอะแล้ว มาดูรายละเอียด วิธีใช้ Hyperdia กันดีกว่า
การใช้ Hyperdia เบื้องต้น

หมายเลข 1 ใส่สถานีต้นทางที่จะเริ่มเดินทาง
หมายเลข 2 ใส่สถานีปลายทางที่จะเดินทางไป
หมายเลข 3 เลือก วัน/เดือน/ปี
หมายเลข 4 เลือกเวลาที่จะเดินทาง
สมมติอชิเพิ่งรับกระเป๋าจากสามบินเสร็จเรียบร้อย แล้วกำลังจะเดินทางออกจากสนามบิน Kansai ตอนนี้เวลา 20.58 อชิจะหาข้อมูลช่วงเวลาใกล้ๆ จะต้องขึ้นรถไฟสายไหนเพื่อไปลงสถานี Namba
สถานีต้นทางอชิจึงใส่ Kansai-Airport ปลายทางอชิก็ใส่ Namba เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้วก็ให้กดปุ่ม “Search”
การใช้ Hyperdia เบื้องต้น

เว็บ Hyperdia ก็จะแสดงวิธีการเดินทางในช่วงเวลาที่เราค้นหามาให้เราเลือก (ปกติจะตั้งไว้ที่ 5 เส้นทาง เราสามารถเลือกเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 10 เส้นทาง) ผลการค้นหาก็จะมีรายละเอียดของ เวลาของรถไฟที่จะมาเทียบที่สถานี เวลาในการเดินทาง ราคาตั๋ว ระยะทาง จำนวนการเปลี่ยนสายรถไฟให้เราได้ทราบอีกด้วย สะดวกสบายจริงๆ
การใช้ Hyperdia เบื้องต้น

จากรูป Route1 ถ้าอชิตัดสินใจจะขึ้นรถไฟใน Route 1 นั้นแปลว่า
– รถไฟกำลังจะมาแล้วในเวลา 21.06
– โดยต้องขึ้นรถไฟสาย Nankai
– ค่าตั๋ว 920 เยน แต่ขบวนนี้เป็น Ltd. ต้องเสียค่าที่นั่งอีก 510 เยน รวมแล้วค่าตั๋ว 1,430 เยน
– ใช้เวลาเดินทาง 35 นาที
– ถึง Namba เวลา 21.41
แล้วถ้าอชิอยากประหยัด ไม่อยากต่อรถไฟ เพราะไม่อยากลากกระเป๋า อชิก็ลองเลื่อนลงมาดู Route อื่นๆ เผื่อจะเจอข้อมูลแบบที่ตั้งใจไว้ ซึ่ง Route ที่ 4 นั้นจะตรงกับความต้องการของอชิมากที่สุดจาก 5 เส้นทาง
*ถ้าไม่พอใจลองเพิ่มจำนวนการค้นหาให้มากกว่า 5 ดูก่อนนะ เผื่อจะมีเส้นทางเด็ดๆซ่อนอยู่
การใช้ Hyperdia เบื้องต้น

การเดินทางของ Route 4 นั้นตรงตามที่อชิต้องการ ไม่ต้องต่อรถ แถมไม่เสียค่าที่นั่งด้วย แต่ต้องแลกมากับเวลาในการเดินทางที่เพิ่มขึ้น
– รถไฟกำลังจะมาแล้วในเวลา 21.14
– โดยต้องขึ้นรถไฟสาย Nankai
– ค่าตั๋ว 920 เยน แต่ขบวนนี้ไม่เป็น Ltd. เลยไม่ต้องเสียค่าจองที่นั่ง ประหยัดไป 510 เยน
– ใช้เวลาเดินทาง 48 นาที
– ถึง Namba เวลา 22.02

มันช่างสะดวกสบายอะไรแบบนี้เจ้าเว็บนี้ แล้วญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อยู่แล้วเรื่องเวลาของรถไฟว่าเป๊ะมาก อชิจึงมีเว็บนี้ไว้เป็นตัวช่วยในการขึ้นรถไฟ โดยถ้าอชิไม่มั่นใจว่ารถไฟที่กำลังจะมาถึงเนี่ยเป็นสายที่ถูกต้องหรือเปล่า อชิก็จะเปิดเว็บนี้แล้วใส่ชื่อสถานีเช็ค ณ ตอนนั้นเลยเพื่อคอนเฟิร์มว่าขบวนที่กำลังจะมาถึงนั้นถ้าขึ้นไปไม่ผิดแน่ๆ เวลาเดินทางในสถานีที่มีรถไฟหลายๆขบวนวิ่งหรืสถานีที่มีรถไฟมาทั้งด้านหน้าและหลังแถมไม่มีภาษาอังกฤษอีก (อชิเป็นคนไม่ค่อยหาข้อมูลก่อนเวลาไปเที่ยวเลยต้องวัดกันตรงสถานีเลย 555) ถ้าในเว็บแจ้งว่ารถไฟขบวนเป้าหมายที่อชิต้องการจะขึ้นกำลังจะมาถึงอีก 8 นาที อชิก็จะจับเวลาเลย 8 นาที 5 นาทีผ่านไปรถไฟมากี่สายอชิก็ไม่ขึ้น มุ่งมั่นรอต่อไป จนใกล้ๆครบ 8 นาที ถ้ามีรถไฟมาก็โดดขึ้นเลย อันนี้เป็นวิธีส่วนตัวของอชินะ ถ้าใครนำไปใช้แล้วผิดพลาดก็ขออภัยล่วงหน้าด้วย
การใช้ Hyperdia เบื้องต้น

นอกจากนี้ยังมีการตั้งค่าเปิดปิดการแสดงผลรถไฟแต่ละประเภท เพื่อให้ข้อมูลนั้นออกมาตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ในส่วนนี้เข้ามาช่วยในการค้นหา เพราะบางทีการค้นหาสถานีที่มีระยะทางที่ไกลๆ เวลาค้นหาจะมี รถไฟบางขบวนที่ Pass พิเศษต่างๆขึ้นไม่ได้ หรือเครื่องบิน รถบัส เข้ามารบกวนการวางแผนได้ เพื่อนๆ สามารถติ้กออกได้เพื่อให้ข้อมูลนั้นถูกต้องตามแผนการขึ้นรถไฟของแต่ละท่าน

ความหมายของสัญลักษ์ในเว็บ Hyperdia

การใช้ Hyperdia เบื้องต้น
การใช้ Hyperdia เบื้องต้น
ข้อควรระวัง

*เพื่อนๆ ต้องทราบชื่อสถานีปลายทางที่เพื่อนๆ จะเดินทาง

*ระวังแบตมือถือหมด สำหรับคนที่ใช้ Hyperdia + Google Map ในการเดินทาง

แนะนำสอบถามข้อมูลได้เลยจ้า

Comments